Private PPA

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) จัดทำขึ้นตรง ระหว่าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และหน่วยงานของรัฐ โดยบริษัทผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมดเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐ

0

โครงการ

0

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้

0

ขนาด กิโลวัตต์

0

ลดการปล่อย CO2 ต่อปี

ข้อแตกต่างของ PPA และลูกค้าลงทุนเอง

Private PPA ลูกค้าลงทุนเอง
อุปกรณ์ บริษัทลงทุนดำเนินการ 100% ลูกค้าลงทุนดำเนินการ 100%
การลงทุน 0 บาท ลูกค้าลงทุนดำเนินการ 100%
ผลประหยัด ส่วนลดค่าไฟฟ้า 15 – 25% ส่วนลดค่าไฟฟ้า 100%
กรรมสิทธิ์ โอนกรรมสิทธิ์หลังจากสัญญาสิ้นสุด ลูกค้า
การบำรุงรักษา ฟรีตลอดอายุสัญญา  10 – 20 ปี ฟรี  2 ปีแรก
การประกันระบบ ฟรีตลอดอายุสัญญา  10 – 20 ปี Solar PV Panel 25-25 ปี
Inverter 10 ปี
ระบบ 2 ปี
การประกันภัย ฟรีตลอดอายุสัญญา  10 – 20 ปี ตามตกลง / 2 ปี
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
  • ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยไม่ต้องลงทุนใช้ไฟฟ้าฟรีจากระบบหลังครบสัญญา
  • ไม่เสียค่าใช้จ่ายการขอใบอนุญาติต่างๆ
  • ประหยัดค่าไฟฟ้าตั้งแต่วันแรกที่ติดตั้ง 100%
  • ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใบอนุญาติต่างๆ

ตัวอย่างโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ เทพสตรี จังหวัด ลพบุรี

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป โดยเบื้องต้นระบุว่าพื้นที่ประมาณ 4,645 ตารางเมตร มีศักยภาพในการติดตั้ง Solar Rooftop จากสถิติการใช้ไฟฟ้าในอดีต พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีความเหมาะสมในการติดตั้ง Solar Rooftop ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 582.30 kWp ข้อมูลนี้สามารถสรุปได้ในตารางสรุปศักยภาพ โมเดลในการประหยัดค่าไฟฟ้าและการลงทุนดังนี้

สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี , จ.ลพบุรี
ขนาดติดตั้ง : 582.30 กิโลวัตต์
เริ่มดำเนินการ : กันยายน 2566
มูลค่าการก่อสร้าง รวมVat : 44,352,428 บาท
สัญญาการไฟฟ้า & PPA  : 20 ปี PPA

ตัวอย่างโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ

บริษัทได้ดำเนินการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับศักยภาพในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโดยใช้โปรแกรมการคำนวนที่ได้มาตรฐานรวมถึงสถิติการใช้ไฟฟ้าในอดีต นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาแล้วว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มีความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 435.6 กิโลวัตต์ (kWp) ท้ายนี้เป็นบทสรุปของความสำเร็จในการติตตั้ง

สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ , จ.ศรีสะเกษ
ขนาดติดตั้ง : 435.6 กิโลวัตต์
เริ่มดำเนินการ : 2567
มูลค่าการก่อสร้าง รวมVat : 34,394,053 บาท
สัญญาการไฟฟ้า & PPA  : 20 ปี PPA

ตัวอย่างโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ , จ. ปทุมธานี

จากการสำรวจของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่าพื้นที่ประมาณ 9,013 ตารางเมตร และมีความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ โดยนำสถิติการใช้ไฟฟ้าในอดีตมาคำนวน พบว่ามหาวิทยาลัยมีความเหมาะสมในการติดตั้ง Solar Rooftop โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดประมาณไม่ต่ำกว่า 1,205.54 kWp สามารถสรุปได้ดังนี้

สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ , จ. ปทุมธานี
ขนาดติดตั้ง:  1,205.54 กิโลวัตต์
เริ่มดำเนินการ : 2568
มูลค่าการก่อสร้าง รวมVat : 74,169,352 บาท
สัญญาการไฟฟ้า & PPA  : 20 ปี PPA